ข้อมูลทรัพยากร

Ratings :
0
No votes yet

คู่มือเรียนการเขียนโปรแกรมภาษาซี.
ประเภททรัพยากร : หนังสือเล่ม
ชั้นเก็บ : ตู้ 1 ชั้น 3 ฝั่งขวา
หมวด : 000
เลขหมู่หนังสือ : 005.133
สำนักพิมพ์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ผู้แต่ง : เวชยันต์ สังข์จุ้ย.
ยอดคงเหลือ : 3


เนื้อหาย่อ : หนังสือ "คู่มือเรียนการเขียนโปรแกรมภาษาซี" ถือเป็นหนังสือคอมพิวเตอร์ที่มี คุณภาพเชิงวิชาการอีกเล่มหนึ่งของสำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เขียนหนังสือ เล่มนี้ (อาจารย์เวชยันต์ สังข์จุ้ย) เขียนหนังสือให้แก่สำนักพิมพ์ดังกล่าวรวม 5 เล่ม อาจารย์ มีความรู้ความสามารถด้านโปรแกรมมิง เขียนโปรแกรมได้หลายภาษา โดยเฉพาะภาษาชี ถือเป็นรากฐานของอีกหลายภาษา เช่น C++, Visual C และ C# แม้แต่ภาษา JAVA ก็ถือว่า กลายพันธุ์มาจากภาษาซี อาจกล่าวได้ว่า ภาษาซีเป็นภาษาแม่แบบของการเขียนโปรแกรม ที่คลาสสิกที่สุด (เมื่อเทียบกับภาษาคอมพิวเตอร์อื่น) ไม่เคยเสื่อมความนิยมแม้ว่ากาลเวลา ผ่านไป ในขณะที่ภาษาคอมพิวเตอร์อื่น (เช่น Pascal และ Fortran) ได้รับความนิยมใน วงจำกัดเฉพาะทาง จึงไม่แปลกที่ภาษาซีได้รับเลือกจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ บรรจุเป็น วิชาเรียนที่นักศึกษาหลายหลักสูตร หลายคณะวิชาจะต้องเรียนเป็นพื้นฐาน เนื่องจากภาษาชี มีความเป็นสากลในแง่ของระเบียบไวยากรณ์ภาษาที่เคร่งครัด มีระบบระเบียบ อีกทั้ง โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาชีสามารถใช้ควบคุมในระดับอุปกรณ์ (เช่น อุปกรณ์สื่อสารที่ถูก ควบคุมด้วยโปรแกรมที่เขียนขึ้นด้วยภาษาซี เป็นต้น) และประยุกต์ใช้กับงานได้ทุกรูปแบบ (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของผู้เขียนโปรแกรมเองด้วย) อาจกล่าวได้ว่า ผู้ที่เขียนโปรแกรมต่าง ๆ ด้วยภาษาชีเป็นมักเรียนรู้ภาษา คอมพิวเตอร์อื่นได้เกือบจะทั้งหมด เนื่องจากมีพื้นฐานต้านโปรแกรมมิงที่เข้มข้นกว่า หาก เก่งและมีจินตนาการในการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา#ได้ดี สามารถประกอบอาชีพอิสระ หรือทำงานในหน่วยงานต่าง ๆ ได้อย่างมีเกียรติ มีรายได้ที่งดงาม หวังว่าหนังสือเล่มที่ท่าน กำลังเปิดอ่านอยู่นี้จะสานฝันต่อยอดให้เป็นโปรแกรมเมอร์ที่มีคุณภาพในภายภาคหน้าได้ ขอเพียงแต่มีพื้นฐานที่ดีเป็นเบื้องต้น บวกกับเติมจินตนาการลงไปด้วย เนื่องจากงานเขียน โปรแกรมมีจินตนาการผสมอยู่ค่อนข้างมาก กล่าวคือ การเขียนโปรแกรม "เป็นทั้งศาสตร์ และศิลป์"