ข้อมูลทรัพยากร

Ratings :
0
No votes yet

Desktop Publishing สู่ e-book เพื่อส่งเสริมการใฝ่รู้ของผู้เรียนยุคดิจิทัล.
ประเภททรัพยากร : หนังสือเล่ม
ชั้นเก็บ : ตู้ 1 ชั้น 3 ฝั่งขวา
หมวด : 000
เลขหมู่หนังสือ : 070.5797
สำนักพิมพ์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ผู้แต่ง : จินตวีร์ คล้ายสังข์.
ยอดคงเหลือ : 1


เนื้อหาย่อ : เป้าประสงค์หลักของการศึกษาคือการที่ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ สื่อ พื้นฐานตลอดจนสื่อเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาต่างๆ จึงถูกนำมาใช้เพื่อ เสริมให้เป้าประสงค์ดังกล่าวบรรลุสู่จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้... หนังสือเรื่อง Desktop Publishing สู่ e-book เพื่อส่งเสริมการใฝ่รู้ของผู้เรียนยุค ดิจิทัล ซึ่งเป็นหนึ่งในหนังสือชุดการบูรณาการ ICT สู่การเรียนรู้ สำหรับ ผู้เรียนยุคใหม่ เล่มนี้ จะเป็นตัวเลือกหนึ่งสำหรับผู้สอนได้โดย Desktop Pubishing เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่คลาสสิก นำมาใช้กับการเรียนการสอนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ อีกทั้งเมื่อมีการผนวกกับการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาเสริม ศักยภาพแล้วนั้น สื่อสิ่งพิมพ์จึงมีความสวยงาม และรูปแบบที่หลากหลาย สร้างสรรค์ยิ่งขึ้น ส่วน e-book นั้นเป็นเทคโนโลยีการศึกษาหนึ่งที่น่าสนใจ อันเปรียบได้กับแหล่งอ้างอิงอันสุดวิเศษที่ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จาก ประสบการณ์ตรง ผ่านการมองผ่านสื่อมัลติมีเดียและวีดิทัศน์ที่รวบรวมลงไป ในหนังสือ ผ่านลิงค์สู่เว็บไซค์ต่างๆ นำสู่เป้าประสงค์สำคัญของการศึกษาคือ การที่ผู้เรียนยุคดิจิทัลเกิดการเรียนรู้ผ่านการอ่านหนังสือ เกิดนิสัยรักการอ่าน และทำให้ "หนังสือ"อยู่คู่กับการศึกษาต่อไป หนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนได้นำเสนอแนวคิด ประเภท หลักการและ กระบวนการการออกแบบสื่อ Desktop Publishing และ e-book สู่ตัวอย่าง แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระต่าง ๆ ที่มีการสอดแทรกกระบวนการใฝ่รู้ใน DTP และ e-book อันจะแสดงให้เห็นถึงการบูรณาการเทคโนโลยีการศึกษาสู่ การเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ อันจะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนมิใช่เพียงแต่เพิ่ม ผลลัพธ์ทางการเรียนรู้ แต่ยังเพิ่มคุณสมบัติบางประการที่เอื้อต่อการเรียนรู้แก่ ผู้เรียน ซึ่งในที่นี้คือ คุณลักษณะของการใฝ่รู้ จากนั้นจะนำเสนอตัวอย่าง ผลงานสื่อ DTP และ e-book และในส่วนสุดท้ายจะเป็นการแนะนำโปรแกรม สำหรับการสร้างสื่อ DTP และ e-book อย่างง่ายที่ผู้อ่านสามารถนำไป ประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน ต่อยอดสู่การทำผลงานวิชาการต่อไปได้ สุดท้ายนี้ ผู้เขียนขอขอบพระคุณ รองศาสตราจารย์ ดร. ใจทิพย์ ณ สงขลา ที่ให้คำชี้แนะอันมีคุณค่ายิ่งเสมอมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เนาวนิตย์ สงคราม ที่คอยสนับสนุนและให้กำลังใจ อันเป็นแรงผลักดันให้ ผู้เขียนได้แนวทางในการเขียนผลงานนี้ออกมาได้ ขอขอบคุณ อัญชนา กลิ่นเทียน ที่ช่วยในการออกแบบและจัดทำรูปเล่ม และที่สำคัญที่สุด นิสิต ปริญญาตรี วิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ที่ร่วมเสนอแนวคิด ร่วมออกแบบและสร้างสรรค์ผลงานดีๆ ใน การเรียนการสอนวิชาการผลิตสิ่งพิมพ์เพื่อการศึกษาด้วยคอมพิวเตอร์ ทำให้ ผู้เขียนเกิดแรงบันดาลใจในการสรรสร้างหนังสือเล่มนี้ออกมา..