ข้อมูลทรัพยากร
![](http://ntc.vlcloud.net/sites/default/files/629.8042%20%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%AE%E0%B8%94%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%81.jpg)
ระบบไฮดรอลิกและการซ่อมบำรุง.
ประเภททรัพยากร : หนังสือเล่ม
ชั้นเก็บ : ตู้ 5 ชั้น 3 ฝั่งซ้าย
หมวด : 600
เลขหมู่หนังสือ : 629.8042
สำนักพิมพ์ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น.
ผู้แต่ง : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น.
ยอดคงเหลือ : 2
เนื้อหาย่อ : ไฮดรอลิก (Hydraulic) มาจากคำว่า "Hydor" มาจากภาษากรีก แปลว่า น้ำ (Water) ซึ่งเป็นของไหล
และผู้คิดค้นหลักการที่สำคัญเรื่องการส่งกำลังของของไหล คือ ปาสกาล (Pascal) เมื่อ ค.ศ. 1623-1662 ในสมัย
เริ่มแรก ระบบไฮดรอลิกถูกพัฒนาเพื่อใช้กับวงการทหารเป็นส่วนมาก เช่น ใช้ในเรือรบ เครื่องบิน รถถัง เป็นต้น
และต่อมาได้พัฒนามาใช้ในวงการอุตสาหกรรม ซึ่งปัจจุบันมีใช้อยู่เกือบทุกสาขาอุตสาหกรรม
ประเทศในภาดพื้นเอเชียคือ ญี่ปุ่น ได้พัฒนาระบบฮดรอลิกเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมหลังจากผ่าน
สงครามโลกครั้งที่ 2 ไปแล้ว จนปัจจุบันมีผู้ผลิตมากมายหลายประเทศ แต่การพัฒนาระบบไฮดรอลิกก็ยังไม่
สิ้นสุด ตัวอย่างเช่น จะทำอย่างไรให้ชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์เป็นมาตรฐาน มีขนาดเล็ก น้ำหนักลดลง และสามารถ
ทำงานร่วมกับระบบคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากความรู้เกี่ยวกับการทำงานของระบบไฮดรอลิกแล้ว ยังมีส่วนที่สำคัญไม่แพ้ส่วนอื่น ๆ คือ
การซ่อมบำรุง การวิเดราะห์ปัญหา และการแก้ไขปัญหา เนื่องจากระบบไฮดรอลิกเป็นระบบที่ใช้น้ำมันเป็นตัวกลาง
เพื่อทำให้อุปกรณ์ทำงาน แต่น้ำมันมีคุณสมบัติที่ไม่ยอมหดตัวเมื่อมีความดัน จึงเป็นผลให้เกิดค่าต่าง ๆ เช่น
แรง เกิดจากความดันคูณด้วยพื้นที่หน้าตัด ถึงแม้ลมอัดจะสามารถใช้เป็นตัวกลางเพื่อให้อุปกรณ์ทำงานได้เช่นกัน
แต่อย่าลืมว่าลมอัดนั้นสามารถยึดหยุ่นได้ ถ้าเป็นน้ำมันจะไม่มีการยืดหยุ่น ดังนั้น ระบบไฮดรอลิกจึงนิยมใช้กับ
งานที่ต้องการแรงมาก ๆ ทำให้มีอุปกรณ์ควบคุมที่ซับช้อน การซ่อมบำรุงจึงต้องชับซ้อนและมีวิธีการที่ยุ่งยากตาม
ไปด้วย ตำราเล่มนี้จึงได้รวบรวมหลักการทำงานของระบบไฮดรอลิกทั่ว ๆ ไป หลักการช่อมบำรุง ชั้นตอน
ต่าง ๆ ตลอดจนส่วนที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุง เช่น ชีล น้ำมัน ข้อต่อ ท่อ เป็นต้น
หวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้อ่านคงได้ความรู้เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานในระดับหนึ่ง ถ้ามีส่วนที่ผิดพลาด ผู้เขียน
ต้องขออภัย และยินดีรับฟังข้อคิดเห็นต่าง ๆ ด้วยความเคารพ