ข้อมูลทรัพยากร
มหาเวสสันดรชาดก ฉบับ 13 กัณฑ์.
ประเภททรัพยากร : หนังสือเล่ม
ชั้นเก็บ : ตู้8 ชั้น4 ฝั่งซ้าย
หมวด : 800
เลขหมู่หนังสือ : 959.3
สำนักพิมพ์ : คุรุสภาลาดพร้าว.
ผู้แต่ง : องค์การค้าของคุรุสภา.
ยอดคงเหลือ : 10
เนื้อหาย่อ : มหาพระเวสสันดรชาดกเป็นเรื่องหนึ่งในนิบาตชาดก มีปรากฏอยู่ในพระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิบาต ในหัวข้อทศชาติชาดก ยังปรากฏการกล่าวถึงในคัมภีร์ชินมหานิทาน พุทธจริยา และพุทธตำนาน และพบภาพสลักในสถูประยะแรก อย่าง สถูปสาญจีและภารหุต ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 4–5
ที่มาของมหาเวสสันดรชาดกน่าจะเป็นเรื่องเล่าหรือนิทานของชาวพื้นเมืองอินเดียมาก่อน พัฒนาการวรรณกรรมมหาพระเวสสันดรในระยะแรกพบว่า เวสสันดรชาดก เป็นชื่อในภาษาบาลี ส่วนภาษาสันสกฤตเรียกว่า วิศวันตระอวทาน มีเนื้อเรื่องแตกต่างกันบางอนุภาค เช่น ไม่ปรากฏชื่อชูชกในภาษาบาลี สำหรับภาษาบาลีในพระสุตตันตปิฎก เชื่อว่าแต่งโดยพระพุทธโฆษะเถระ ในพุทธศาสนาศรีลังกาในช่วง พุทธศตวรรษที่ 10–11[1]
ในอุษาคเนย์รับมาจากลังกาโดยคณะสงฆ์กับคณะโยมสงฆ์ที่ใกล้ชิดมูลนายคนชั้นนำในวัฒนธรรมหลวงของรัฐใหญ่ ราว พ.ศ. 1700 เช่น รัฐลุ่มน้ำเจ้าพระยา ภาคกลางตอนล่าง ในสยามประเทศ รัฐลุ่มน้ำอิรวดี ในพม่าประเทศ เป็นต้น
นักวิชาการพบหลักฐานว่ามีจิตรกรรมเรื่องเวสสันดร (เขียนร่วมกับมโหสถชาดก) เรียงต่อกันเป็นแนวยาวในวิหารโลกเทียกพัน เมืองพุกาม อายุราว พ.ศ. 1650[2] ภาพสลักเรื่องเวสสันดรที่ปรากฏเป็นหลักฐานเหลืออยู่ในปัจจุบันที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในประเทศไทย คือ ภาพสลักบนใบเสมา พบที่เมืองฟ้าแดดสงยาง ตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งมีอายุอยู่ในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ 13–16 โดยพบร่วมกับภาพสลักทศชาติชาดกเรื่องอื่น ๆ สำหรับในอาณาจักรเขมรโบราณ มีการสลักภาพชาดกเรื่องเวสสันดรไว้บนหน้าบันที่ปราสาทธมมานนท์ ในกลุ่มโบราณสถานเมืองเสียมราฐ ภาพสลักบนทับหลังปราสาทพระขรรค์ ในเมืองเสียมราฐและปราสาทตาพรหมแห่งแม่น้ำบาตี ทำให้ทราบว่า คนกัมพูชาโบราณรู้จักเรื่องเวสสันดรชาดกมาอย่างน้อย 900 ปี ข้อสังเกตประการหนึ่งคือภาษาที่ใช้ในอาณาจักรกัมพูชาโบราณนั้นนอกจากจะใช้ภาษาเขมรโบราณแล้ว ยังใช้ภาษาสันสกฤต[3]