ข้อมูลทรัพยากร

Ratings :
0
No votes yet

ทฤษฎีและตัวอย่างโจทย์วงจรไฟฟ้า
ประเภททรัพยากร : หนังสือเล่ม
ชั้นเก็บ : ตู้ 3 ชั้น 5 ฝั่งขวา
หมวด : 600
เลขหมู่หนังสือ : 621
สำนักพิมพ์ : แมคกรอ-ฮิล
ผู้แต่ง : Joseph Edminster
ยอดคงเหลือ : 1


เนื้อหาย่อ : หนังสือเล่มนี้ถูกจัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นตำราสำหรับรายวิชาแรกทางด้านการวิเคราะห์วงจร หรือใช้เป็น หนังสือเสริมตำรามาตรฐานที่มีอยู่แล้ว ผู้ที่จะใช้หนังสือเล่มนี้ได้คือนิสิตนักศึกษาทางวิศวกรรมไฟฟ้าหรือ ทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีด้านอื่น ๆ เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้เป็นเรื่อง กฎพื้นฐาน ทฤษฎีบท และเทคนิค ในการแก้ปัญหา ซึ่งเป็นสิ่งที่มีปรากฏทั่วไปในรายวิชาส่วนใหญ่ ฉบับแก้ไขครั้งที่ 3 นี้ เนื้อหาส่วนใหญ่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขและทำให้ทันสมัยยิ่งขึ้น ถูกแบ่งเป็น 1 7 บทครอบคลุมทฤษฎีและเรื่องที่จะศึกษาที่เห็นว่าสมควร แต่ละบทเริ่มด้วยเรื่องของนิยามที่ เนื้อหาจะ เป็นไปตามเนื้อหาของเรื่องนั้น ๆ หลักการ และทฤษฎี พร้อมต้วยตัวอย่างเด่น ๆ จากนั้นจะตามด้วย การ เฉลยโจทย์ปัญหา และโจทย์ปัญหาเพิ่มเติม ลักษณะของโจทย์ปัญหาจะครอบคลุมระดับความยากง่ายต่าง ๆ บางข้อจะมุ่งเน้นที่รายละเอียด ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนทำการประยุกต์หลักการพื้นฐานต่าง ๆ ได้ถูกต้องและ ด้วยความเชื่อมั่นได้ดีขึ้น โจทย์ปัญหาเพิ่มเติมที่จัดเตยมไว้ให้โดยทั่ว ' ไปจะเกี่ยวข้องกับตัวเลขจำนวน มากขึ้น ที่เปิดโอกาสให้ผู้อ่านได้ฝึกฝนความชำนาญในการแก้ปัญหา ทั้งนี้โจทย์ปัญหาเพิ่มเติมแต่ละข้อจะมี คำตอบจัดเตรียมไว้ให้ด้วย เนื้อหาของหนังสือเริ่มต้นด้วยเรื่อง นิยามมูลฐาน ชิ้นส่วนวงจรซึ่งรวมถึงแหล่งจ่ายไฟไม่อิสระ ทฤษฎีและกฎทางวงจร และเทคนิคในการวิเคราะห์วงจร เช่น วิธีแรงดันโหนด และวิธีกระแสเมช ทฤษฎี และวิธีการเหล่านี้จะประยุกต์ใช้กับวงจรตัวต้านทาน-กระแสไฟตรงก่อน หลังจากนั้นจะขยายไปใช้กับวงจร RLC โดยการใช้ในรูปอิมพีแดนช์และความถี่เชิงซ้อนต่อไป บทที่ 5 ซึ่งเป็นเรื่องใหม่นั้น จะกล่าวถึงวงจรขยาย และวงจรออป-แอมปั ตัวอย่างและปัญหาของออป-แอมปีที่นำมาแสดงจะมีรูปแบบที่ง่ายต่อการทำความเข้า ใจแต่ยังคงมีลักษณะที่เป็นจริงในทางปฏิบัติซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจและสำคัญต่อนิสิตนักศึกษาในการเรียน รายวิชาต่อ ๆ ไป หัวช้อเรื่องรูปคลื่นและสัญญาณถูกแยกไว้ในบทหนึ่งต่างหากเช่นกัน เพื่อให้นิสิตนักศึกษา เห็นความสำคัญในเรื่องแบบจำลองของสัญญาณ พฤติกรรมของวงจร เป็นต้นว่า การสนองตอบในสถานะคงตัวและชั่วครู่ ที่มีต่อค่าเข้าแบบ ขั้น พัลส์ อิมพัลส์ และ เอกซ์โพเนนเชียล จะได้รับการพิจารณาสำหรับวงจรอันดับแรกในบทที่ 7 และสำหรับ วงจรอันดับที่สูงขึ้นในบทที่ 8 ที่มีการนำเสนอแนวความคิดทางความถี่เชิงซ้อนด้วย ในบทถัด " ไปจะเป็น เรื่องของ การวิเคราะห์เฟสเซอร์ สถานะอยู่ตัวไชนูซอยด์ กำลังงาน ตัวประกอบกำลัง และ วงจรหลายเฟส จะมี จะมีการแนะนำ ะเอียดเกี่ยวกับ ฟังก์ชันวงจรข่าย การเหนี่ยวนำร่วม และหม้อแปลง ไว้ด้ว การหาผลเฉลยสมการวงจรทำได้โดย การประยุกต์ Spice และ Pspice ในการวิเคราะห์วงจรในบทที่ 15 การใช้สมการอนุพันธ์ดั้งเดิม และการใช้ผลการแปลงลาปลาชทซึ่งนำมาเปรียบเทียบกันได้อย่างสะดวก อนุกรมฟูริเยร์และผลการแปลงฟูริเยร์พร้อมด้วยการใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์วงจรจะปรากฎในบทที่ 17