ข้อมูลทรัพยากร

มลภาวะอากาศ.
ประเภททรัพยากร : หนังสือเล่ม
ชั้นเก็บ : ตู้ 5 ชั้น 5 ฝั่งขวา
หมวด : 600
เลขหมู่หนังสือ : 628.53
สำนักพิมพ์ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ผู้แต่ง : วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์.
ยอดคงเหลือ : 1
เนื้อหาย่อ : ในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมาหลังจากที่ได้จัดพิมพ์หนังสือ มลภาวะอากาศ เป็นครั้งที่
4 ประเทศไทยได้ประสบปัญหามลภาวะอากาศที่แผ่ขยายพื้นที่ได้รับผลกระทบและเพิ่มความ
รุนแรง กรุงเทพมหานครถูกองค์การอนามัยโลกระบุว่ามีมลพิษอากาศสูงเป็นหนึ่งในสิบของโลก
เนื่องมาจากมีระดับฝุ่นละอองสูงเป็น 4-7 เท่าของค่ามาตรฐาน ปัญหามลพิษอากาศใน
อำเภอแม่เมาะ ยังไม่ได้รับการแก้ไขที่เป็นที่พอใจของประชาชนในพื้นที่ ในขณะเดียวกันได้
เกิดมลภาวะในพื้นที่มาบตาพุด เป็นอันตรายต่อนักเรียนในโรงเรียนและประชาชนในชุมชนที่
อยู่ใกล้เคียงกับนิคมอุตสาหกรรม ปัญหาดังกล่าวจัดเป็นมลภาวะอากาศในระดับท้องถิ่นที่มี
ผลเสียต่อสุขภาพอนามัย และการดำรงชีวิตของประชาชนในประเทศ
ปัญหามลภาวะอากาศไม่จำกัดอยู่ภายในเส้นแบ่งอาณาเขตประเทศ ในระหว่าง
เดือนกันยายน-ตุลาคม 2540 ประเทศไทยได้เรียนรู้มลภาวะไร้พรมแดน เมื่อหมอกควันจาก
ไฟไหม้ป่าในประเทศอินโดนีเซียได้ถูกลมพัดผ่านประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซีย มาถึง
ภาคใต้ของประเทศไทย ระดับฝุ่นขนาดเล็กได้เพิ่มขึ้นสูงกว่าปกติมากกว่าเท่าตัว ทัศนวิสัย
ลดลงไม่ปลอดภัยต่อการนำเครื่องบินขึ้นลง และเพิ่มอาการรุนแรงของผู้ป่วยด้วยโรคระบบหายใจ
มลภาวะในระดับภูมิภาดนี้ ยังรวมถึงสภาวะฝนกรดซึ่งเกิดจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่ง
เป็นปัญหาระหว่างประเทศ ทั้งในเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ
มลภาวะอากาศในระดับโลก เป็นผลรวมจากการปล่อยมลพิษสู่บรรยากาศชั้นบน
ที่ห่อหุ้มโลก ก่อให้เกิดการทำลายชั้นโอโซน และสภาวะเรือนกระจก ซึ่งก่อให้เกิดผล
กระทบที่รุนแรงและใช้เวลานานในการแก้ไขประเทศไทยมีพันธะกรณีกับนานาชาติที่จะลด
การปล่อยมลพิษอากาศ เพื่อป้องกันหายนะที่อาจจะเกิดขึ้น
การป้องกันการแก้ไขมลภาวะอากาศ จำต้องป้องกันและแก้ไขที่แหล่งปล่อยมลพิษ
ทั้งจากภาคการผลิตไฟฟ้า ภาคอุตสาหกรรม ภาดการคมนาคมขนส่ง ภาคการก่อสร้าง
ตลอดจนประชาชนผู้ใช้พลังงานและผลิตภัณฑ์ที่ปล่อยมลพิษ โดยต้องวิเคราะห์ปัญหาและ
ป้องกันล่วงหน้าไม่ให้เกิดมลภาวะที่จะต้องตามแก้ไขภายหลัง การป้องกันและลดมลพิษที่
หล่งปล่อยย่อมมีค่าใช้จ่ายที่น้อยกว่าการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ หากเราจะพิจารณาถึงความ
เสียหายจากผลกระทบที่เกิดขึ้นด้วย