ข้อมูลทรัพยากร

สายอากาศและเทคนิคการติดตั้ง.
ประเภททรัพยากร : หนังสือเล่ม
ชั้นเก็บ : ตู้4ชั้น5ฝั่งขวา
หมวด : 600
เลขหมู่หนังสือ : 621.384135
สำนักพิมพ์ : ฟิสิกส์เซ็นเตอร์
ผู้แต่ง : วิสันต์ อาชาเดโชพล.
ยอดคงเหลือ : 3
เนื้อหาย่อ : ความต้องการแต่อดีตของมนุษย์เราอย่างหนึ่งคือ การรวมกลุ่มกัน เพื่อติดต่อระหว่าง
กันให้เกิดผลทั้ง แง่ความบันเทิง, ความสัมพันธภาพ หรือ การค้าขายซึ่งกันและกัน สิ่งเหล่านี้นับ
เป็นเหตุผลักดันให้เกิดความรู้หรือเทคโนโลยีด้านการสื่อสารขึ้น จนกระทั่งพัฒนาเป็นสื่อที่เราพบ
ใด้ในทุกวันนี้ อย่างเช่น โทรทัศน์, วิทยุ เป็นตัน ระบบสื่อสารเหล่านี้จะเห็นได้ว่ามีส่วนสายอากาศ
เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ระบบดีขึ้นมากเพียงใด
หนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนได้พยายามค้นคว้าจากตำราภาษาอังกฤษหลายเล่มเพื่อนำเป็น
แหล่งอ้างอิงเกี่ยวกับความรู้ทางด้านสายอากาศที่พอสังเขปได้ดังนี้
บทที่ 1 กล่าวถึงความรู้เกี่ยวกับคลื่นและชั้นบรรยากาศ เพื่อให้ทราบถึงธรรมชาติ
รองคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและชั้นบรรยากาศของโลกโดยเฉพาะชั้นไอโอโนสเฟียร์ รวมถึงรูปแบบต่าง ๆ
ที่คลื่นสามารถเดินทางในชั้นบรรยากาศได้
บทที่ 2 กล่าวถึงความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสายอากาศ ในแง่หลักการเบื้องตนของ
สายอากาศโดยได้อธิบายถึงตัวแปรทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง เช่น โโซแนนซ์, ฮาร์โมนิก. ความยาวทาง
"ไฟฟ้า, รูปแบบการแพร่คลีน, อัตราขยาย และไดเร็คติวิตี้ เป็นต้น
บทที่ 3 กล่าวถึงความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสายอากาศ ในแง่ชนิดของสายอากาศที่
นียมใช้กัน เช่น แบบลูป, แบบยากิ, แบบล็อกเพอริโอดิก และแบบหาราโบลิก เป็นต้น
บทที่ 4 กล่าวถึงความรู้เกี่ยวกับสายนำสัญญาณ เพื่อให้ทราบถึงค่าสัมประสิทธิ์ของ
มันเช่น ค่าอิมพืแดนซ์, ความเร็วเฟส, VSWR รวมทั้งยังระบุถึงรายละเอียดของสายโคแอกเชียล
ที่มีการใช้งานจริงในทางปฏิบัติ เช่น สายเบอร์ RG-9, RG-58 เป็นต้น
บทที่ 5 กล่าวถึงวิธีแม้ชท์ในระบบสายอากาศ เพื่อให้เกิดการส่งผ่านกำลังคลื่นที่มี
การสูญเสียน้อยที่สุด อย่างเช่น วิธีแม็ชท์รูปตัวที, วิธีแม็ชท์แบบแกมม่า และวิธีแม็ชท์แบบโอเมก้า
เป็นต้น
บทที่ 6 กล่าวถึงความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสัญญาณและสายอากาศทีวี เพื่อให้ทราบ
ถึงการแบ่งช่องสัญญาณทีวีและค่าตัวแปรที่เกี่ยวข้อง เช่น คำาเดซิเบล, การเกิดภาพซ้อน และอัตรา
ส่วนของ S/N เป็นต้น
บทที่ 7 กล่าวถึงอุปกรณ์ร่วมในระบบสายอากาศทีวี เพื่อให้ผู้อ่านทราบถึงชนิดและ
วิธีใช้งานของอุปกรณ์เหล่านี้ เช่น อุปกรณ์แยกสัญญาณสปลิตเตอร์, อุปกรณ์แยกแบนด์, อุปกรณ์
ใดเร็คชั่นแนลคัปเปอร์ และอุปกรณ์แอมปลีไฟเออร์ เป็นต้น