ข้อมูลทรัพยากร

การออกแบบแม่พิมพ์
ประเภททรัพยากร : หนังสือเล่ม
ชั้นเก็บ : ตู้ 5 ชั้น 2 ฝั่งขวา
หมวด : 600
เลขหมู่หนังสือ : 621.984
สำนักพิมพ์ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น).
ผู้แต่ง : ชาญชัย ทรัพยากร
ยอดคงเหลือ : 2
เนื้อหาย่อ : ปัจจุบันเทคโนโลยีทางด้านวิชาการออกแบบแม่พิมพ์ได้เข้ามามีบทบาทในการเพิ่มผลผลิตทาง
ค้านอุดสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตและขึ้นรูปชั้นส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรม
ทางด้นการผลิตยวดยานพาหนะ หรืออุตสาหกรรมด้านอื่น ๆ ก็ตาม แม่พิมพ์ขึ้นรูปชั้นส่วนมีความจำเป็น
อย่างมาก ต่อการผลิตชิ้นส่วน เพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิตให้สูงขึ้น และดีกว่าเดิม
ด้วยตระหนักถึงความขาดแคลนตำราที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีทางด้านวิชาการออกแบบ
และพื้นฐานการทำงานของแม่พิมพ์ชนิดต่าง ๆ ผู้เขียนจึงได้จัดทำหนังสือเล่มนี้ขึ้น เจตนารมย์ของผู้เขียน
ที่จัดทำหนังสือเล่มนี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่วิชาความรู้เกี้ยวกับการทำงานและการออกเบบแม่พิมพ์ ให้แพร่หลาย
เป็นที่รู้จักกันมากขึ้นในหมู่ประชาชนชาวไทย ทั้งยังสามารถนำไปใช้เป็นคู่มือประกอบการเรียน การสอน
แก่นิสิตนักศึกษาได้อีกด้วย
เนื่องจากหนังสือเล่มนี้ผู้เขียนแปลจากหนังสือหลายเล่มด้วยกัน ซึ่งมีทั้งหน่วยอังกฤษและหน่วย
ร! ดังนั้น ในหนังสือเล่มนี้จึงมีทั้งสองหน่วยผสมกัน พื้นฐานที่ต้องใช้ในการอ่านศึกษาเนื้อหาเล่มนี้ก็เพียง
แต่มีความรู้พื้นฐานทางด้านวิชาช่างก็สามารถที่จะศึกษาเข้าใจได้ ทั้งนี้เพราะผู้เขียนได้พยายามเน้นในแง่
ความเข้าใจและพื้นฐานการทำงานของอุปกรณ์โครงสร้างต่าง ๆ ของแม่พิมพ์
หนังสือเล่มนี้แบ่งเป็นบท ๆ ได้ 20 บทด้วยกัน โคยในแต่ละบทจะมีเนื้อหาที่สัมพันธ์กัน ซึ่งสามารถ
ที่จะใช้สอนหรือศึกษาได้จากบทที่ 1 จนถึงบทที่ 20 เนื้อหาจากบทที่ 1 ถึงบทที่ 4 จะว่าด้วยทฤษฎีและ
ประเภทของงานขึ้นรูปทั้งหมด บทที่ 5 ถึงบทที่ 18 จะว่าด้วยขั้นตอนพื้นฐานในการออกแบบแม่พิมพั
ซึ่งผู้เขียนจะบรรยายถึงขั้นตอนในการทำงานของแม่พิมพ์และอุปกรณ์ต่ำง ๆ ไว้ด้วย บทที่ 10 และบทที่ 20
จะบรรยายถึงขั้นตอนในการทำงานของแม่พิมพ์ที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะอย่าง
หนังสือเล่มนี้จึงเป็นความหวังอันหนึ่งที่จะทำให้ผู้สนใจในความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการออกแบบ
และขั้นตอนพื้นฐานในการทำงานของแม่พิมพ์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้ดียิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตามเนื่องจากเป็นการจัดพิมพ์ครั้งแรก จึงยังอาจมีสิ่งขาดตกบกพร่องอยู่บ้าง ซึ่งผู้เขียน
ก็ขอน้อมรับความผิดพลาดในครั้งนี้ และจะนำไปปรับปรุงในการจัดพิมพ์ครั้งต่อไป
ท้ายที่สุดผู้เขียนขอขอบคุณ สมาคมส่งเสริมเทกโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ที่เด็งเห็นถึงความสำคัญ
ของหนังสือน้ำ และได้กรุณานำไปดำเนินการ จัดพิมพ์เพื่อเผยแพร่แก่นิสิตนักศึกษา และวงการอุตสาหกรรม
ที่เกี่ยวข้องโดยทั่วไป โดยมิได้หวังผลกำไรตอบแทนอย่างใดเลย