ข้อมูลทรัพยากร

เศรษฐศาสตร์วิศวกรรมการทาง (Economics for Highway Engineering).
ประเภททรัพยากร : หนังสือเล่ม
ชั้นเก็บ : ตู้ 5 ชั้น 5 ฝั่งขวา
หมวด : 600
เลขหมู่หนังสือ : 625.7
สำนักพิมพ์ : ฟิสิกส์เซนเตอร์
ผู้แต่ง : วัชรินทร์ วิทยกุล.
ยอดคงเหลือ : 2
เนื้อหาย่อ : ตำรา "เศรษฐศาสตร์วิศวกรรมการทาง" เป็นหนังสือที่ใช้ประกอบการเรียนการสอนใน
วิชา "20357 8 การวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐศาสตร์สำหรับวิศวกรรมขนส่ง" ซึ่งเป็นวิชาหนึ่งของ
ระดับปริญญาโท หลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิศวกรรมโยธา หมวดวิศวกรรมขนส่ง มหาวิทยาลัย
เกษตรศาสตร์ เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้จะเน้นหนักไปทางด้านการวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ของ
โครงการต่าง ๆ ในงานด้านวิศวกรรมการทาง ดังเช่นเนื้อหาของวิชาเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมขนส่งที่
ทำการเปิดสอนสำหรับหลักสูตรปริญญาโทวิศวกรรมขนส่ง ของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)
เขียนเคยเล่าเรียนมา ณ สถาบันดังกล่าวนี้
คุณความดีของตำราเล่มนี้ ผู้เขียนจึงขอมอบให้แด่ศาสตราจารย์ จอห์น ฮยูจย์ โจนส์
Prof. John Hugh Jones) ซึ่งเป็นอาจารย์สอนวิชานี้ให้แก่ผู้เขียน โดยท่านได้ประสิทธิ์ประสาท
วิชาให้จนผู้เขียนมีความเข้าใจในหลักวิชาจนสามารถนำมาถ่ายทอดสั่งสอนลูกศิษย์ที่มหาวิทยาลัย
ษตรศาสตร์ได้ ตลอดจนผู้เขียนสามารถนำคำสอนมาเรียบเรียงขึ้นเป็นตำราใช้ประกอบการเล่า
เรียนศึกษาวิชาดังกล่าวได้ดังที่เห็นอยู่นี้
จุดประสงค์ของผู้เขียนตำราเล่มนี้ก็เพื่อให้ผู้ที่ศึกษา หรือสนใจวิชานี้ได้ทราบถึงการนำ
หลักการของวิชาเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับแนวความคิดเรื่องค่าของเงิน ตลอดจนวิชาการวิเคราะห์เชิง
ศรษฐศาสตร์ต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์โครงการทางด้านวิศวกรรมขนส่ง
ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ตำราเล่มนี้จะมีประโยชน์ต่อผู้ใช้ทั่วไปที่มีความสนใจและ
ต้องการศึกษาในวิชาเศรษฐศาสตร์วิศวกรรมการทางนี้ โดยผู้เขียนมิได้มุ่งหวังไว้แต่เพียงว่าจะให้ใช้
กิดประโยชน์ต่อนิสิตปริญญาโทวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เท่านั้น อย่างไรก็ดีถ้า
ผู้อ่านท่านใดมีความคิดเห็นและต้องการเสนอคำแนะนำประการใด ผู้เขียนก็พร้อมยินดีที่จะรับ
ข้อเสนอแนะเหล่านั้นด้วยความขอบคุณอย่างยิ่ง และผู้เขียนจะถือว่าเป็นวิทยาทานที่ได้รับจากท่าน
ซึ่งให้ประโยชน์ในการปรับปรุงตำราเล่มนี้ โดยที่ผู้เขียนจะได้นำคำแนะนำเหล่านั้นมาใช้ปรับปรุง
แก้ใขตำราให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป