ข้อมูลทรัพยากร
![](http://ntc.vlcloud.net/sites/default/files/628.3%20%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%9D%E0%B8%99.jpg)
คู่มือการออกแบบระบบนํ้าเสียและนํ้าฝน.
ประเภททรัพยากร : หนังสือเล่ม
ชั้นเก็บ : ตู้ 5 ชั้น 5 ฝั่งขวา
หมวด : 600
เลขหมู่หนังสือ : 628.3
สำนักพิมพ์ : ม.ป.พ.
ผู้แต่ง : ธงชัย พรรณสวัสด.ิ์
ยอดคงเหลือ : 1
เนื้อหาย่อ : หนังสือ "คู่มือการออกแบบระบบระบายน้ำเสียและน้ำฝน" ที่อยู่ในมือท่านขณะนี้ นับได้ว่าเป็นหนังสือที่ได้รับ
การเขียนและตีพิมพ์ขึ้นในช่วงเวลาที่เหมาะสมกับสถานการณ์เป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นหนังสือที่เขียนขึ้นโดยผนวกเอา
ประสบการณ์จากปัญหาที่เกิดขึ้นจริงภายในประเทศของเรา มารวมไว้ด้วยกัน ดังปรากฎเห็นชัดตั้งแต่หน้าแรกที่ได้
กล่าวไว้อย่างตรงไปตรงมาถึงปัญหาหลักที่มักจะเป็นที่เข้าใจผิดของบรรดาวิศวกรรุ่นก่อน ๆ และอาจจะตกทอดถึง
วิศวกรรุ่นปัจจุบันบ้างก็เป็นได้ ในเรื่องความดาดเอียงที่เหมาะสมสำหรับห่อระบายน้ำในบ้านเมืองเรา บางแห่งที่เป็น
พื้นราบและตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของน้ำทะเลหนุน และที่ปรากฎในหน้าต่อ ๆ ไป เช่น เรื่องของการแปรผันของปริมาณ
น้ำเสีย เรื่องของการป้องกันน้ำท่วมโดยวิธีถมที่ และเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้น-ชวงเวลา-ความถี่
ของฝน สำหรับบางจังหวัดในประเทศไทย เป็นต้น ซึ่งนับว่าเป็นข้อมูลที่สำคัญในการออกแบบระบบระบายน้ำสำหรับ
เมืองไทยเป็นอย่างยิ่ง
ส่วนเนื้อหาสาระในด้านอื่น ๆ เช่น ในด้านความรู้พื้นฐานทางวิศวกรรม ก็มีกด่าวถึงไว้อย่างละเอียดชัดเจน
พอที่จะเป็นประโยชน์ทั้งแก่วิศวกรที่เพิ่งจะเริ่มออกแบบ และยังมีประสบการณ์น้อย ตลอดจนวิศวกรอาวุโสในด้าน
ของการอ้างอิงได้เป็นอย่างดี
ในส่วนเนื้อหาหลักด้านการออกแบบนั้น หนังสือเล่มนี้ได้ครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ ของระบบไว้อย่างกว้างขวาง
เหมาะที่จะนำมาใช้ทั้งในลักษณะคู่มือสมตามเจตนารมย์ของผู้เขียน และยังเป็นหนังสืออ้างอิงทางวิซาการเกี่ยวกับ
การระบายน้ำเสียและน้ำฝนที่ดีอีกด้วย
ในทัศนะส่วนตัว ผมรู้สึกเป็นเกียรติเป็นอย่างยิ่งที่ผู้เขียน-รองศาสตราจารย์ ดร.ธงชัย พรรณสวัสดิ์-ได้เชิญ
ให้เขียนคำนำให้กับหนังสือที่มีค่านี้ และขอแสดงความชื่นชมยินดีในความวิริยะอุตสาทะที่ได้ใช้ทั้งกำลังกายและกำลัง
ความคิดเขียนหนังสือนั้ขึ้นมาจนเป็นผลสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง