ข้อมูลทรัพยากร

นิกายเซน.
ประเภททรัพยากร : หนังสือเล่ม
ชั้นเก็บ : ตู้ที่1 ชั้น2 ฝั่งซ้าย
หมวด : 200
เลขหมู่หนังสือ : 294.3927
สำนักพิมพ์ : ดอกหญ้า 2000.
ผู้แต่ง : คึกฤทธิ์ ปราโมช (หม่
ยอดคงเหลือ : 1
เนื้อหาย่อ : มนุษย์ เป็นสัตว์สังคม ไม่สามารถอยู่โดยลำพังอย่างโดดเดี่ยวได้ แต่
การอยู่ด้วยกันนี่เองที่ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมากมาย "ศาสนา" จึงถูกบัญญัติขึ้น
เพื่อยึดเหนี่ยวบุคคลในสังคมนั้นไว้ ให้อยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข สันติ มีความรัก
มีความหวัง มีความฝัน มีความปรารถาที่ดีต่อกัน ยามใดที่มนุษย์หลงผิด ไม่
ว่าสิ่งใด มนุษย์ก็นำมาอ้างเพื่อทำลายล้างกันจนได้ ไม่เวันแม้แต่ศาสนา ทั้ง ๆ ที่
อยู่ในประเทศเดียวกันแท้ ๆ โลกเดียวกันแท้ ๆ
"เซน" เป็นนิกายหนึ่งในพุทธศาสนาที่มีผู้ให้ความสนใจอย่างมาก สำ
นักพิมพ์จึงเห็นว่าในเรื่องนี้ ปรมาจารย์นักเขียนนาม "คึกฤทธิ์ ปราโมซ"ได้เคย
เขียนไว้ในหนังสือชื่อ "เรื่องของลัทธิและนิกาย" (พิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2531
โดยสำนักพิมพ์สยามรัฐ) ซึ่งมิได้ยกชูให้เห็นเด่นชัด ทั้ง ๆ ที่เป็นเรื่องน่าสนใจ
ยิ่ง เราจึงได้นำมารวบรวมเป็นรูปเล่ม เพื่อสะดวกแก่การทำความรู้จักและเข้าใจ
เชน ให้มากกว่าที่หาไม่ได้ในเล่มอื่น ๆ อาทิ ประวัติที่มาของเซน, ใดรคือผู้ริเริ่ม
ใครคือผู้เผยแพร่, วิธีการของเซน, หัวใจของเซนเป็นอย่างไร ฯลฯ
"เซน" คือลัทธิที่อ้างว่าเราสามารถเข้าถึงปัญญาตรัสรู้ได้โดยจิต ชีวิต
นั้น จะวุ่นวายต่อเมื่อปล่อยจิตให้เข้ามาวุ่นวายกับชีวิต ใครที่อยู่เพื่อกายล้วน ๆ
ย่อมไม่ดี ใครที่อยู่ด้วยจิตล้วน ๆ ย่อมไม่ดีเช่นกัน "เซน" สอนให้เราปล่อยกาย
ปล่อยใจไปเหมือนสายธาร แต่อย่าให้มันหยุดไหลหรือไหลผิดทาง เสมือนคนที่
จะมองดูหน้าตัวเองในน้ำ ต้องมองดูเฉย ๆ ขืนเอามือจุ่มน้ำ ภาพก็บิดเบือน
น้ำก็กระเพื่อม มองไม่เห็นหน้าหรือเห็นก็ไม่ตรงกับความจริง
"การรู้จักตนเองตามความจริงนั่นคือ พุทธภูมิหรือปัญญาตรัสรู้"
"นิกายเซน" มีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกันกับศาสนาพุทธ คือ ทำลาย
อุปาทานในขันธ์ เพื่อให้อัตตานั้นหมดไป เพราะอัตตาคือเหตุแห่งทุกข์ เมื่อ
ทำลายอัตตาแล้ว ทุกอย่างก็เป็นอนัตตา เหตุแห่งทุกข์ก็หมดไป
"เซน" ลัทธิที่ซามูไรนับถือ ลัทธิที่มีอิทธิพลเหนือการฝึกเพลงอาวุธ
ของซามูไรมากที่สุด ซามูไรกับดาบสองเล่ม เสี่ยงชีวิตเป็นอาชีพ เขารักษาชีวิต
และจิตได้อย่างไร
เชิญพลิกไปทำความรู้จักกับ "นิกายเซน" พร้อม ๆ กับทำความรู้จัก
ตัวเองอย่างอย่างถ่องแท้ได้แล้ว ณ บัดนี้...