ข้อมูลทรัพยากร
![](http://ntc.vlcloud.net/sites/default/files/691%20%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81.jpg)
การก่อสร้างโครงสร้างเหล็ก.
ประเภททรัพยากร : หนังสือเล่ม
ชั้นเก็บ : ตู้7ชั้น6ฝั่งขวา
หมวด : 600
เลขหมู่หนังสือ : 691
สำนักพิมพ์ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
ผู้แต่ง : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
ยอดคงเหลือ : 5
เนื้อหาย่อ : หนังสือ "การก่อสร้างโครงสร้างเหล็ก" เล่มนี้ เป็นงานเขียนเล่มที่ 14 ด้วยเจดนาที่จะเสริม
ความรู้ให้กับผู้ที่มีอาชีพเป็นวิศวกรโยธา/ก่อสร้าง สถาปนิก ผู้รับเหมา และผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างที่
ใช้โครงเหล็กรูปพรรณ โดยเฉพาะการตรวจและควบคุมงานโครงสร้างเหล็ก กรรมการตรวจการจ้าง ผู้เขียน
รายการเพื่อการก่อสร้าง รวมทั้งผู้เตรียมตัวเพื่อการออกข้อสอบและเป็นผู้เข้าสอบด้วย
งานโครงสร้างเหล็กมีใช้กับงานอาคารต่อมาจนปัจจุบันสำหรับเป็นโครงสร้างให้กับอาการขนาดใหญ่
ซึ่งสามารถคำนวณตรวจสอบให้ความมั่นคงแก่อาคารได้ เพื่อให้วิศวกรมีความรู้เกี่ยวกับการประกอบโคร
เหล็กและการใช้อุปกรณ์ยึดติดที่เป็นหมุดย้ำ สลักเกลียว หรืองานเชื่อม ขนาดของรอยเชื่อม การครวจรอย
เชื่อม รวมทั้งเทคนิคการประกอบกันของโครงเหล็กในชิ้นส่วนของโครงอาคาร เป็นต้น
เนื้อหาหนังสือเดมนี้มีทั้งหมด 14 บท ดังนี้ บทที่ 1 -2 แรงที่เกิดขึ้นในโครงสร้างอาคาร
และการต่อชิ้นส่วนของโครงสร้างด้วยหมุดช้ำและสลักเกลียว บทที่ 3-4 การทดสอบในห้องประลองของ
งานโดรงสร้างเหล็ก การเชื่อมและการต่อชิ้นงาน บทที่ 5-7 การกำหนดขนาดและสัญลักษณ์ของรอยเชื่อม
การติดตั้งแผ่นฐานรองรับเสาเหล็ก และการต่อหัวคานเดี่ยวกับเสาเหล็ก ตามลำดับ
สำหรับบทที่ 8 การต่อหัวคานคู่ สามคาน สี่คาน เข้ากับเสาเหล็ก บทที่ 9-11 ประกอบคาน ต่อ
และยึดคาน โครงถักและการประกอบโครง โครงถักหลังคาเหล็กและโครงข้อแข็ง บทที่ 12-14 บันใดเหล็ก
และโครงรับแรงดึงด้วยเหล็กเส้น ช่องเปิดในโครงเหล็ก และคานหูช้างรับเครนโครงสร้างเหล็ก ฝ่าผนัง
และเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก รวมทั้งตารางการเปลี่ยนเป็นระบบเมทริกซ์ และตารางโครงเหล็กอย่างสมบูรณ์
แม้จะใช้โครงเหล็กระบบอื่น ๆ
เพื่อให้เป็นประโยชน์อย่างแท้จริงแก่ผู้ใช้หนังสือ ผู้เขียนจึงได้รวบรวมความรู้ที่ใช้เป็นข้อมูลและ
เป็นคู่มือในการทำงานโครงสร้างเหล็กได้อย่างมั่นใจและถูกต้อง จึงใคร่ขอขอบคุณครู-อาจารย์ที่ประสิทธิ์
ประสาทวิชาการแขนงนี้ให้สืบกัน โดยหวังว่าจะใช้เป็นคุณประโยชน์อย่างสูงต่อวงการวิศวกรรมโยธาและ
ก่อสร้าง โดยเฉพาะสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ได้ช่วยจัดพิมพ์ให้อย่างสวยงาม มีคุณค่า
น่าใช้ศึกษาต่อไป