ข้อมูลทรัพยากร
![](http://ntc.vlcloud.net/sites/default/files/631.7%20%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%8A%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99.jpg)
หลักการชลประทาน.
ประเภททรัพยากร : หนังสือเล่ม
ชั้นเก็บ : ตู้ 5 ชั้น 5 ฝั่งซ้าย
หมวด : 600
เลขหมู่หนังสือ : 631.7
สำนักพิมพ์ : เอเชีย.
ผู้แต่ง : วิบูลย์ บุญยธโรกุล.
ยอดคงเหลือ : 9
เนื้อหาย่อ : เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า การชลประทานเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งในการกสิกรรมและการพัฒนาเศรษฐกิจ
ของประเทศ ทั้งนี้เพราะสภาพของดินฟ้าอากาศและฝนตามธรรมชาตินั้นมักจะไม่เอื้ออำนวยให้การเพาะปลูก
ได้ผลอย่างเต็มที่เสมอไป ในปีใดที่ฝนไม่ตกตามฤดูกาลหรือมีปริมาณมากจนเกินไป การเพาะปลูกในปีนั้นก็จะ
เสียหาย ผลผลิตจากไร่นาก็ขาดแคลนจนต้องลดหรือยกเลิกการส่งออกจำหน่ายยังผ่างประเทศลง เศรษฐกิจของ
ประเทศก็จะกระทบกระเทือนจากการขาดเงินตราต่างประเทศไปด้วย
เนื่องจากว่า การเพิ่มผลผลิตโดยการขยายพื้นที่เพาะปลูกให้มากขึ้นย่อมจะทำได้ไม่มากนัก เพราะจะต้อง
มีการทำลายป่าและต้นน้ำลำธาร ซึ่งจะทำให้ดุลย์ของสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติต้องเสียไป ฉะนั้นจึงจำเป็น
ต้องเพิ่มผลผลิตโดยการจัดการกับทรัพยากรที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด นั่นคือต้องนำเอาการชลประทาน
ข้าไปช่วย เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไรให้สูงขึ้นและมีความแน่นอนที่จะส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทดเป็นประจำ
หนังสือเล่มนี้ได้เริ่มเรียบเรียงขึ้นในปี 2516 โดยวางโครงเรื่องไว้สำหรับประกอบการบรรยายวิชา หลัก
การชลประทาน ซึ่งเป็นวิชาพื้นฐานขนาด 3 หน่วยกิตสำหรับนิสิตชั้นปีที่ 3 ของภาควิชาวิศวารรมซลประทาน
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาที่ผ่านมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมอีกหลายครั้ง บางบทได้ให้รายละเอียดมากพอที่จะนำ
ไปใช้เป็นคู่มือในการปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี ดังนั้น หนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยซน์ทั้งผู้ที่กำลังศึกษาอยู่ และ
ผู้ที่สนใจทั่ว ๆ ไป
ข้าพเจ้าขอแสดงความขอบคุณ ดร.เจษ ฎา แก้วกัลยา หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมชลประทาน และเพื่อน
ร่วมงานที่ใด้ให้การสนับสนุนในการพิมพ์หนังสือเล่มนี้ขึ้น ขอขอบคุณ คุณฑริกา ระงับเหตุ และ คุณอำภา
ล้วงลงค์ ที่ได้ช่วยพิมพ์ตันฉบับให้
ทุกปี