ข้อมูลทรัพยากร

Ratings :
0
No votes yet

เทคโนโลยีซีเอ็นซี.
ประเภททรัพยากร : หนังสือเล่ม
ชั้นเก็บ : ตู้ 5 ชั้น 4 ฝั่งซ้าย
หมวด : 600
เลขหมู่หนังสือ : 629.895
สำนักพิมพ์ : สมาคม(ไทย-ญี่ปุ่น)
ผู้แต่ง : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญีปุ่น).
ยอดคงเหลือ : 24


เนื้อหาย่อ : แนวโน้มการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและการแข่งขันกันในการผลิตผลิตภัณฑ์ ทำให้ความต้องการกระบวน การผลิตอัตโนมัติเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกระบวนการผลิตที่ใช้ทคโนโลยีสมัยใหม่ เป็นผลให้มีความต้องการทั้งทาง ด้านระบบการผลิต ช่างควบคุมเครื่อง และบุคลากรเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ในปัจจุบันวิศวกรที่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ต้องพบกับการปฏิบัติงานในกระบวนการผลิตที่มีความสามารถสูง มีความน่าเชื่อถือ และความยืดหยุ่นในกระบวนการสูง ระบบซีเอ็นซีก็เป็นเทคนโลยีสมัยใหม่ที่มีการพัฒนาและมีความก้าวหน้าไปมาก ทั้งในด้านของความสามารถในการส่ง ถ่ายข้อมูล การแสดงผลทางกราฟฟิก และความยืดหยุ่นในการผลิตชิ้นงาน ตลอดจนการเลือกใช้เครื่องมือ ในระยะยาว ความสำเร็จของการใช้กระบวนการผลิตที่เป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่นี้จะได้ผลดีและมีประสิทธิภาพสูงสุด จำเป็นที่จะต้องให้ ความสำคัญต่อการจัดเตรียมบุคลากรในด้านต่าง ๆ ด้วย หนังสือ เทคโนโสยีซีเอ็นชี ที่เรียบเรียงขึ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางให้ช่างเทคนิค วิศวกร ตลอดจน ฝ้ายบริหารในอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ให้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีซีเอ็นชีในปัจจุบัน สามารถเลือกใช้ ได้อย่างเหมาะสม หนังสือเล่มนี้สามารถใช้ศึกษาด้วยตนเองก็ไต้หรือใช้ในหลักสูตรการเรียนการสอนของสถาบันการ อาชีวศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีซีเอ็นชี เครื่องจักรกลอัตโนมัติ เครื่องจักรกลที่ควบคุมด้วยระบบตัวเลข เป็นต้น หรือ ใช้ในโปรแกรมการฝึกอบรมเครื่องจักรกลซีเอ็นชี เช่น เครื่องกลึงซีเอ็นซี เครื่องกัดชีเอ็นชี แมชชีนนิ่ง เซนเตอร์ เป็นต้น สำหรับหนังสือเทคโนโลยีซีเอ็นซีเล่มนี้ จะประกอบด้วยเนื้อหาวิชาที่เป็นทฤษฎีเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับระบบเอ็นชีและ ระบบซีเอ็นชี เครื่องกลึงซีเอ็นซี เครื่องกัดซีเอ็นซี การจัดทำโปรแกรมเอ็นซี ตลอดจนวิธีการจัดการในระบบซีเอ็นซี ซึ่ง ถือว่าเป็นความรู้พื้นฐานของเทคโนโลยีซีเอ็นซีที่ช่างเทคนิค วิศวกร บุคลากรในฝ่ายวางแผน ช่างควบคุมเครื่องจักรกล ซีเอ็นซี และช่างเขียนโปรแกรมเอ็นซีจำเป็นที่จะต้องรู้ ดังนั้น ผู้เรียบเรียงจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็น ประโยชน์ต่อนักศึกษาและบุคคลทั่วไป ที่มีความสนใจเกี่ยวกับเครื่องจักรกลซีเอ็นซี และหากหนังสือเล่มนี้มีซ้อ ผิดพลาดประการใด หรือท่านผู้อ่านมีข้อเสนอแนะประการใดที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงเนื้อหาวิชาภายในหนังสือ เล่มนี้ ผู้เรียบเรียงยินดีรับฟังข้อเสนอแนะต่าง ๆ ด้วยความขอบคุณยิ่ง